การจัดการศึกษางานมหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2554

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ3R และแบบฝึกเสริมทักษะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา         นางสุมาวดี แซ่ย่อง
หน่วยงาน       โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ กองการศึกษา เทศบาลเมืองทุ่งสง
             อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์        2553

                            บทคัดย่อ



           การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค  SQ3R  และแบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตรตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ3Rและแบบฝึกเสริมทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ3Rและแบบฝึกเสริมทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค  SQ3R  และแบบฝึกเสริมทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ  กองการศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน  เรื่อง  การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  จำนวน 8  เรื่อง แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8  ชุด  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 16  แผนการจัดการเรียนรู้  แผนละ 2  ชั่วโมง รวมเวลา  32  ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชนิดเลือกตอบ 3  ตัวเลือก  จำนวน 30  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนก  (B)  อยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.39  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง  การอ่าน  และการเขียนคำมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3  ระดับ  จำนวน 10  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  (t)  อยู่ระหว่าง  0.24  ถึง  0.37  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86  สถิติที่ใช้ในการศึกษา  คือ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีประสิทธิผล  และ  T-test  Dependent
       ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 
        1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค SQ3R และแบบฝึกเสริมทักษะ มีประสิทธิภาพ  84.21/90.64 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้  
        2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ3R และแบบฝึกเสริมทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
       3. ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง  การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค  SQ3R และแบบฝึกเสริมทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ  0.5431  แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็น    ร้อยละ 54.31
       4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัด     การเรียนรู้  เรื่อง  การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค  SQ3R  และแบบฝึกทักษะ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
     


 

 


 

การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี)

โรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง  เทศบาลเมืองทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อผู้วิจัย            นางจันจิรา   ดวงทอง

ปีที่วิจัย             2555

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุท้องถิ่นของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) โดยนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี โรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง  เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุท้องถิ่น จำนวน 15 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมของนักเรียน แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า

1. แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุท้องถิ่นไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  โรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง ซึ่งหาประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า ประสิทธิภาพของแผนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมาก

            2. ผลคะแนนความคิดสร้างสรรค์จากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ใน 3 ด้าน คือ ด้านการคิดคล่อง  ด้านการคิดริเริ่ม และด้านการคิดละเอียดลออ พบว่า ด้านการคิดคล่อง นักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ด้านการคิดริเริ่ม นักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 และด้านการคิดละเอียดลออ นักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00






วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงการนิเทศการศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง ประจำปี 2555



หน่วยศึกษานิเทศก์ กองการศึกษา ได้จัดโครงการนิเทศการศึกษา ในวันที่ ๒๔-๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งสง  โดยกำหนดให้จัดการศึกษา ให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สร้างสังคมเป็นแกนหลักในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนบนพื้นฐานวัฒนธรรมไทย  โดยใช้การนิเทศการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน  ด้วยวิธีการให้ความรู้และจัดทำคู่มือนิเทศภายในสถานศึกษา ซึ่งประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้  คือ นายทรงชัย   วงษ์วัชรดำรง  นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง  และคณะผู้บริหารเทศบาล   ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์  ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยคณะผู้บริหารฝ่ายวิชาการ  ทีมงานนิเทศภายในสถานศึกษา   จำนวน  ๘๐ คน   วิทยากรคือ นายครรชิต   มนูญผล  ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ  สพป.นศ.๑  
              ผลการดำเนินงานคณะผู้บริหาร  ครูอาจารย์มีความพึงพอใจในระดับ มาก  พร้อมทั้งเสนอแนะให้อบรมเพิ่มเติมอีกให้ต่อเนื่อง เกี่ยวกับการจัดทำคู่มือ  และเทคนิคการสอนในครั้งต่อไป  และชอชอบคุณคุณครูทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และร่วมกันพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาล

          หน่วยศึกษานิเทศก์  ได้กำหนดจัดโครงการประกันคุณภาพในสถานศึกษา  โรงเรียนในสังกัดเทศบาล ขึ้นในระหว่างวันที่  2425 พฤศจิกายน 2554  ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง  เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม   โดย  นายทรงชัย   วงษ์วัชรดำรง  เป็นประธาน   และ ผอ.นิรันดร์  สุนทรอารมณ์  กล่าวรายงานการอบรม   ซึ่งดำเนินการ  โดย ศึกษานิเทศก์  นางจตุพร  แก้วเนิน  นางศิลา  สงอาจินต์  และทีมงาน  ซึงประกอบด้วยครูจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาล   ตัวแทนโรงละ10 คน  รวมทั้งสิ้น 60 คน  ซึ่งวิทยากร  ดร.ไกรเดช  ไกรสกุล  และ อ.วิชาญ  กาญจนไพโรจน์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช   

โครงการบูรณาการเรื่องน้ำ ดิน ของไทย-เนเธอร์แลนด์

เทศบาลเมืองทุ่งสง  จัดทำโครงการบูรณาการการจัดการพื้นที่่น้ำ ดิน  โดยความร่วมมือของไทยกับเนเธอร์แลนด์   วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔  ณ  โรงเรียนเอส เทค  เทศบาลเมืองทุ่งสง

โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ด้วยกองการศึกษา  หน่วยศึกษานิเทศก์  ได้กำหนดจัดโครงการประกันคุณภาพในสถานศึกษา  โรงเรียนในสังกัดเทศบาล ขึ้นในระหว่างวันที่  ๒๔๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ  ห้องประชุมเทศบาลเมืองทุ่งสง  เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม   โดย  นายทรงชัย   วงษ์วัชรดำรง  เป็นประธาน   และ ผอ.นิรันดร์  สุนทรอารมณ์  กล่าวรายงานการอบรม   ซึ่งดำเนินการ  โดย ศึกษานิเทศก์  นางจตุพร  แก้วเนิน  นางศิลา  สงอาจินต์  และทีมงาน  ซึงประกอบด้วยครูจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาล   ตัวแทนโรงละ  ๑๐ คน  รวมทั้งสิ้น ๖๐ คน  ซึ่งวิทยากร  ดร.ไกรเดช  ไกรสกุล  และ อ.วิชาญ  กาญจนไพโรจน์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช          
 

โครงการพัฒนาศักยภาพครูของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง(อบรมครูต้นแบบ)



การพัฒนาครูต้นแบบการเรียนรู้  เป็นกระบวนการสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเห็นความสำคัญในด้านการจัดการศึกษา ตามแนวการจัดการศึกษาของหมวดที่ ๔ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจนสามารถเป็นแบบอย่าง เพื่อขยายผลให้แก่เพื่อนครูและเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับครู  ซึ่งคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองทุ่งสง           มีนโยบายในการพัฒนาครูโดยการประเมินคัดเลือกครูต้นแบบในด้านการจัดการเรียนการสอน  เพื่อกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพของครูในสังกัดเทศบาล  ให้มีความรู้ความสามารถและนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป